การพัฒนาอัตลักษณ์เครื่องประดับเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดตราด

Author : ธนกฤต ใจสุดา และคณะ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์ และจำแนกอัตลักษณ์จังหวัดตราด อันนำไปสู่การออกแบบเครื่องประดับที่แสดงถึงอัตลักษณ์จังหวัดตราด ใช้วิธีการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ตราด โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการสรุปจัดจำแนกกลุ่มอัตลักษณ์ที่ปรากฏ พร้อมทั้งประเมินการรับรู้ของผู้คนที่มีต่ออัตลักษณ์จังหวัดตราดในแต่ละกลุ่ม จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 200 คน ข้อมูลผลการวิเคราะห์ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในเป็นแนวทางในการเครื่องประดับร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ในรูปแบบของการจัดอบรม ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ ภาพลักษณ์จังหวัดตราดรับรู้ว่าเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต และเป็นเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลที่สำคัญของฝั่งตะวันออกของไทย มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ อาหารการกิน และวัฒนธรรม ตราดจึงเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทางทะเลของภาคตะวันออก และเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชน แบ่งออกเป็น 4 บริบท ดังนี้ 1) บริบททางด้านธรรมชาติ 2) บริบททางด้านประวัติศาสตร์ 3) บริบททางด้านสังคมวิถีชีวิต และ 4) บริบททางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยผลการประเมินการรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ของตราดของผู้ตอบแบบสอบถาม บริบทที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ บริบทด้านธรรมชาติการออกแบบเครื่องประดับอัตลักษณ์ตราดผู้วิจัยใช้แนวคิดการออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข (Design Criteria) การออกแบบเป็นการผสมผสานอัตลักษณ์ตราดในบริบทด้านต่างๆ เข้าด้วยกันและมีรูปแบบที่สอดคล้องกับกระแสการออกแบบเครื่องประดับ ปี 2022 ผลจากการวิจัยทำให้ได้เครื่องประดับเชิงวัฒนธรรมตราด จำนวน 3 ชุด แสดงให้เห็นว่าสามารถนำเอาอัตลักษณ์ เอกลักษณ์มาพัฒนาเป็นเครื่องประดับได้ ก่อให้เกิดรูปแบบของเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์

Published Date : 29 Mar 2022
Page : 207 หน้า
Publisher : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Available : Unlimited

MARC INFORMATION

050 b : Published Year 
2564 
245 a : Title 
การพัฒนาอัตลักษณ์เครื่องประดับเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดตราด 
260 b : Name of publisher 
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 
300 a : Total pages 
207 หน้า 
520 a : Description 
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา วิเคราะห์ และจำแนกอัตลักษณ์จังหวัดตราด อันนำไปสู่การออกแบบเครื่องประดับที่แสดงถึงอัตลักษณ์จังหวัดตราด ใช้วิธีการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ตราด โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการสรุปจัดจำแนกกลุ่มอัตลักษณ์ที่ปรากฏ พร้อมทั้งประเมินการรับรู้ของผู้คนที่มีต่ออัตลักษณ์จังหวัดตราดในแต่ละกลุ่ม จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 200 คน ข้อมูลผลการวิเคราะห์ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในเป็นแนวทางในการเครื่องประดับร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ในรูปแบบของการจัดอบรม ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ ภาพลักษณ์จังหวัดตราดรับรู้ว่าเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต และเป็นเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลที่สำคัญของฝั่งตะวันออกของไทย มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ อาหารการกิน และวัฒนธรรม ตราดจึงเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทางทะเลของภาคตะวันออก และเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชน แบ่งออกเป็น 4 บริบท ดังนี้ 1) บริบททางด้านธรรมชาติ 2) บริบททางด้านประวัติศาสตร์ 3) บริบททางด้านสังคมวิถีชีวิต และ 4) บริบททางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยผลการประเมินการรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ของตราดของผู้ตอบแบบสอบถาม บริบทที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ บริบทด้านธรรมชาติการออกแบบเครื่องประดับอัตลักษณ์ตราดผู้วิจัยใช้แนวคิดการออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข (Design Criteria) การออกแบบเป็นการผสมผสานอัตลักษณ์ตราดในบริบทด้านต่างๆ เข้าด้วยกันและมีรูปแบบที่สอดคล้องกับกระแสการออกแบบเครื่องประดับ ปี 2022 ผลจากการวิจัยทำให้ได้เครื่องประดับเชิงวัฒนธรรมตราด จำนวน 3 ชุด แสดงให้เห็นว่าสามารถนำเอาอัตลักษณ์ เอกลักษณ์มาพัฒนาเป็นเครื่องประดับได้ ก่อให้เกิดรูปแบบของเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ 

NO REVIEWS

  1. There are no reviews yet, why not be the first one?

We uses cookies to improve website performance. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy Setting Accept