การเคลือบฟิล์มกลุ่มโลหะมีค่าคุณภาพสูงบนตัวเรือนเครื่องประดับด้วยการใช้เทคนิคไฮเพาเวอร์อิมพัลส์แมกนีตรอนสปัตเตอริง (ไฮพิมส์)

Author : พิษณุ พูลเจริญศิลป์ และคณะ

โครงการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและกระบวนการเคลือบฟิล์มบางของโลหะเงิน ด้วยเทคนิคไฮเพาเวอร์อิมพัลส์แมกนีตรอนสปัตเตอริง (ไฮพิมส์) โดยศึกษาสมบัติของไอออนในพลาสมา โครงสร้างทางผลึก ของฟิล์มบาง สมบัติทางกล และค่าสีของฟิล์มที่ได้จากการเคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์ เปรียบเทียบกับเทคนิคดีซีแมกนีตรอนสปัเตอริง ผลการศีกษาพบว่าไอออนในระบบเคลือบแบบดีซี มีสัดส่วนไอออนพลังงานสูงเพียง 18% ของปริมาณไอออนทั้งหมด ในทางตรงข้าม ไอออนในระบบเคลือบไฮพิมส์มีสัดส่วนไอออนพลังงานสูง 63% จากการตรวจวัดวิเคราะห์และโครงสร้างสมบัติของฟิล์มบาง พบว่าฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีคุณภาพสูงกว่าฟิล์มที่เคลือบจากเทคนิค DCMS เช่นมีขนาดผลึกและผิวเกรนที่ใหญ่กว่า มีความแข็งมากกว่าเนื้อฟิล์มมีความหนาแน่นสูงกว่า และมีความขรุขระน้อยกว่า และที่สำคัญ สีของฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีค่าความสว่างสูง เหตุผลสำคัญที่ทำให้สีฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีคุณภาพฟิล์มที่โดดเด่นกว่าเทคนิค DCMS เนื่องจากอิทธิพลของการอนุภาคไอออนเงินที่มีอยู่ในพลาสมาและการใช้เทคนิคไบแอสที่ชิ้นงานในการเพิ่มพลังงานไอออนเงินเหล่านั้นให้ระดมผิวชิ้นงาน ซึ่งทำให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงทั้งในมุมของสมบัติเชิงโครงสร้าง สมบัติทางกล และสีของผิวฟิล์ม

Published Date : 12 May 2022
Page : 63 หน้า
Publisher : สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Available : Unlimited

MARC INFORMATION

050 b : Published Year 
2563 
245 a : Title 
การเคลือบฟิล์มกลุ่มโลหะมีค่าคุณภาพสูงบนตัวเรือนเครื่องประดับด้วยการใช้เทคนิคไฮเพาเวอร์อิมพัลส์แมกนีตรอนสปัตเตอริง (ไฮพิมส์) 
260 b : Name of publisher 
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 
300 a : Total pages 
63 หน้า 
520 a : Description 
โครงการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและกระบวนการเคลือบฟิล์มบางของโลหะเงิน ด้วยเทคนิคไฮเพาเวอร์อิมพัลส์แมกนีตรอนสปัตเตอริง (ไฮพิมส์) โดยศึกษาสมบัติของไอออนในพลาสมา โครงสร้างทางผลึก ของฟิล์มบาง สมบัติทางกล และค่าสีของฟิล์มที่ได้จากการเคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์ เปรียบเทียบกับเทคนิคดีซีแมกนีตรอนสปัเตอริง ผลการศีกษาพบว่าไอออนในระบบเคลือบแบบดีซี มีสัดส่วนไอออนพลังงานสูงเพียง 18% ของปริมาณไอออนทั้งหมด ในทางตรงข้าม ไอออนในระบบเคลือบไฮพิมส์มีสัดส่วนไอออนพลังงานสูง 63% จากการตรวจวัดวิเคราะห์และโครงสร้างสมบัติของฟิล์มบาง พบว่าฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีคุณภาพสูงกว่าฟิล์มที่เคลือบจากเทคนิค DCMS เช่นมีขนาดผลึกและผิวเกรนที่ใหญ่กว่า มีความแข็งมากกว่าเนื้อฟิล์มมีความหนาแน่นสูงกว่า และมีความขรุขระน้อยกว่า และที่สำคัญ สีของฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีค่าความสว่างสูง เหตุผลสำคัญที่ทำให้สีฟิล์มโลหะเงินที่เคลือบด้วยเทคนิคไฮพิมส์มีคุณภาพฟิล์มที่โดดเด่นกว่าเทคนิค DCMS เนื่องจากอิทธิพลของการอนุภาคไอออนเงินที่มีอยู่ในพลาสมาและการใช้เทคนิคไบแอสที่ชิ้นงานในการเพิ่มพลังงานไอออนเงินเหล่านั้นให้ระดมผิวชิ้นงาน ซึ่งทำให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพสูงทั้งในมุมของสมบัติเชิงโครงสร้าง สมบัติทางกล และสีของผิวฟิล์ม 

NO REVIEWS

  1. There are no reviews yet, why not be the first one?

We uses cookies to improve website performance. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy Setting Accept