GIT LIbrary Admin
28 Sep 2020 4373เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ลึกลงไปในอัญมณีแต่ละชนิดเราจะเห็นโลกอีกมิติหนึ่งที่งดงามอยู่ภายในอัญมณีที่เผยให้เห็น "สิ่งแปลกปลอม" ต่างๆ ในพลอย เช่น ผลึกแร่ แถบสี โซนสีที่แสดงการงอกของผลึกแร่ หรือแม้กระทั่งของไหลที่แทรกอยู่ในรอยแตก จนเกิดรูปร่างคล้ายสิ่งต่างๆ เช่น ขนนก ลายนิ้วมือ หรือหมอกควัน ซึ่งคุณสมบัติที่น่าทึ่งของมลทินเหล่านี้ล้วนเกิดจากธรรมชาติ ประหนึ่งงานศิลปะที่ยากจะเลียนแบบ และด้วยการใช้เทคนิคการจัดแสงในมุมมองที่หลากหลายและการจัดองค์ประกอบภาพอย่างปราณีตของนักอัญมณีศาสตร์ ทำให้เราได้เห็นถึงมุมองภายในอัญมณีที่สวยงามแปลกตา และเรื่องราวเหล่านี้จะดึงดูดผู้คนให้สนใจและค้นหาความงามที่ยากจะเข้าถึงของอัญมณี
อินคลูชัน (Inclusions) ในทางแร่วิทยาและธรณีวิทยา หมายถึง สารหรือสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก ที่สามารถมองเห็นได้ เช่น แก๊ส ของเหลว หรือผลึกแร่ ที่ปนอยู่ในเนื้อแร่และในหิน ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ของการเจริญเติบโตของแร่และหิน ในทางอัญมณีศาสตร์ คือ ตำหนิ ซึ่งหมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบที่มองเห็นได้ภายในเนื้ออัญมณี แบ่งเป็น 3 ลักษณะหลักๆ คือ ของแข็ง (Solid) ของเหลว (Liquid) และแก๊ส (Gaseous) รวมทั้ง โซนนิ่ง (Zoning) เขตสี (Colour zoneing) การกระจายของสีที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น อินคลูชัน สามารถเกิดร่วมกันได้ เช่น ของแข็งอาจเป็นผลึกเกิดร่วมกับของเหลวและแก๊ส ในช่องว่างในเนื้ออัญมณี โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1.อินคลูชันหนึ่งสถานะ (Single-phase inclusions) ซึ่งเป็น แก๊ส ของแข็ง หรือของเหลว ก็ได้
2.อินคลูชันสองสถานะ (Two-phase inclusions) อาจจะประกอบด้วย แก๊สกับของเหลว ของเหลวกับของแข็ง ก็ได้
3.อินคลูชันสามสถานะ (Three-phase inclusions) ซึ่งประกอบด้วย แก๊ส ของแข็ง และของเหลว รวมอยู่ในช่องว่างเดียวกัน
อินคลูชัน (Inclusions) อาจแบ่งตามช่วงเวลาการเกิดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. อินคลูชันที่เกิดก่อนอัญมณี (Protogenetic inclusions) อินคลูชันกลุ่มนี้ ได้แก่ แร่ต่างๆ บางครั้งอยู่ในรูปผลึกซึ่งเกิดก่อนอัญมณีนั้น เช่น อะพาไทต์ในคอรันดัม รูไทล์ในควอตซ์ เป็นต้น
2. อินคลูชันที่เกิดพร้อมกับอัญมณี (Syngenetic inclusions) ประกอบด้วยวัตถุที่เกิดพร้อมกับการเกิดอัญมณี โดยอันคลูชันและอัญมณีอาจเกิดจากสารละลายชนิดเดียวกันหรือมีโครงสร้างเดียวกัน อาจอยู่ในรูปแบบผลึก ของเหลว หรือของเหลวที่ถูกกักอยู่ในรอยแตก
3. อินคลูชันที่เกิดหลังการเกิดอัญมณี (Epigenetic inclusions) เป็นอินคลูชันที่เกิดหลังจากอัญมณีเกิดขึ้นแล้ว ได้แก่สารอื่นมาตกผลึกใหม่ในรอยแตก เช่น การเกิดสตาร์ในคอรันดัมโดยการะบวนการแยกตัวออกของไทเทเนียมออกไซด์ เป็นต้น
หนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อินคลูชัน (Inclusions)
1. Photoatlas of inclusions in gemstones Vol.1 By Eduard J. Gubelin and John I. Koivula
LC Call# QE 266.A14 G921 2004
The first volume of the Photoatlas of Inclusions in Gemstones is a landmark work that established the importance of inclusions as an aid to identifying gemstones and deepens our understanding of gems and their origins. This volume covers known microscopic characteristics of gem materials up to 1986. It includes over 1400 color photomicrographs that illustrate common features in gemstones from particular localities as well as various types of inclusions that help separate natural from synthetic gemstones.
2. Photoatlas of inclusions in gemstones Vol.2 By Eduard J. Gubelin and John I. Koivula
LC Call# QE 266.A14 G921 2005
The second volume of the Photoatlas of Inclusions in Gemstones profiles analytical methods used to identify inclusions in gem materials. The authors, masters of the subject, offer details on diagnostic inclusions and provide descriptive chapters on the usefulness of inclusion color and shape, as well as geological correlations. The book contains extensive chapters on inclusions in gems of commercial importance. There are over 2,200 color photomicrographs covering characteristics of gem materials discovered since 1986.
3. Photoatlas of inclusions in gemstones Vol.3 By Eduard J. Gubelin and John I. Koivula
LC Call# QE 266.A14 G921 2008
Volume 3 adds to the already comprehensive work contained in the Photoatlas of Gemstone Inclusions and Photoatlas of Inclusions in Gemstones Volume 2. Included are the many new localities for natural gems, the latest synthetics, and treatments. Thousands of original photomicrographs have been included, along with an expanded inclusion classification system and a chapter focusing on geologic correlations in origin determinations. A first draft for this work as a single volume was prepared shortly before Dr. Gübelin's passing. Due to its length, however, the manuscript was divided into two separate volumes.