เครื่องทองไทย
“เครื่องทองไทย” มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นงานหัตถศิลป์ชั้นสูงที่มีความงดงามและมีเสน่ห์ชวนหลงใหล ด้วยความปราณีตวิจิตบรรจงของลวดลายจากช่างฝีมือชั้นครูที่รังสรรค์ด้วยความประณีตและพิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการผลิต รวมทั้งแสดงออกในคติความเชื่อและความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย หรือสถานภาพของผู้สวมใส่ เช่น เป็นกษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางชั้นสูง หรือสามัญชน ทำให้ “เครื่องทองไทย” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยที่งดงามไม่เป็นสองรองใครในโลก ซึ่งหากใครที่สนใจศึกษาในเรื่องราวของเครื่องทองโบราณของไทยและเครื่องทองไทยนั้น ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำให้ได้อ่านและศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาและกระบวนการผลิตเครื่องประดับทองโบราณของไทยได้ดียิ่งขึ้น

ทองศรีสัชนาลัย : ล้ำค่ามรดกแผ่นดิน โดย ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์
LC Call: DS 589.ส72 ช49 2546
สืบค้นเพิ่มเติม: https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=1084
ความเป็นมาของการทำทองโบราณของชาวบ้านอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของไทย หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการทำทองสุโขทัยไว้อย่างละเอียด รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวของความเป็นมาของจังหวัดสุโขทัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
เครื่องทองลายโบราณกับงานพื้นบ้านนครพิงค์ โดย วิพุธ วิวรณ์วรรณ
LC Call # DS 589.ช9 ว665 2545
สืบค้นเพิ่มเติม: https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=1065
สัมผัสเรื่องราวเชิงวิถีชีวิตของชาวเชียงใหม่ที่ดำรงตนท่ามกลางธรรมชาติรอบข้างโดยมีประเพณีและวัฒนธรรมโน้มนำให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พาไปชมเรื่องราวของ “เครื่องทองลายโบราณ” ในเขตอำเภอหางดง อันเป็นงานหัตถกรรมที่มีต้นแบบมาจากจังหวัดสุโขทัย ความงดงามวิจิตรบรรจงของทองลวดลายโบราณ กระบวนการทำเครื่องทอง เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมไปถึงขั้นตอนการผลิต

การออกแบบเครื่องประดับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ
LC Call: NK 7378.7.A1 ว43 2544
สืบค้นเพิ่มเติม: https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=395
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย ที่นำเสนอเนื้อหาอีกแง่มุมหนึ่งในการพิจารณาประณีตศิลป์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเครื่องประดับที่เป็นเครื่องทอง เป็นของสูงทีมีความประณีตงดงามมากนอกจากจะให้ความรู้ความเข้าใจที่เป็นสาระประโยชน์แล้ว ยังช่วยสร้างสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องประดับและการออกแบบเครื่องประดับสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมถึงการผลิตเครื่องประดับและอุปกรณ์ทำเครื่องประดับสมัยกรุงศรีอยุธยา

หนังสือเรื่องเครื่องทองกรุงศรีอยุธยาพิมพ์เผยแพร่ออกมาเพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปได้มีความรู้เรื่องมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเครื่องทองซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีความงดงามวิจิตรอย่างยิ่ง เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา ไม่เพียงแต่จะบ่งบอกถึงความสามารถอันสูงส่งในทางช่างศิลปกรรมของบรรพชนคนไทยเท่านั้น ยังเป็นหลักฐานทางวิชาการด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีความเป็นอยู่และสภาพของสังคมไทยในสมัยอยุธยาอีกด้วย

ศิลปหัตถกรรมของช่างทองเมืองเพชร : ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน โดย วัฒนะ จูฑะวิภาตLC Call: NK 7178.7 .ว63 2535
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=1243ความเป็นมาของช่างทองสกุลเพชรบุรี กระบวนการสร้างสรรค์ทองรูปพรรณในแง่ วัสดุ อุปกรณืที่ใช้ วิธีการทำ รูปแบบและลวดลายทองของรูปพรรณ รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดความรู้เชิงช่างตลอดจนแนวทางในการดำรงรักษา สืบทอดฝีมือช่างทองสกุลเพชรบุรี
เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะศิลปะของแผ่นดิน เรียบเรียงโดย จิราภรณ์ อรัณยะนาค และคณะ
LC Call: NK 7178.7 .ค75 2550
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=6000เรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องทองวัดราชบูรณะ ฝีมือช่างผู้สร้างสรรค์เครื่องทอง ศิลปะและลวดลาย เทคนิคการผลิต ตลอดจนประวัติวัดราชบูรณะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาอันควรค่าแก่การศึกษา
ถนิมพิมพาภรณ์ โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรLC Call: NK 7378.7.A1 ถ36 2559
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=6556หนังสือ “ถนิมพิมพาภรณ์” เป็นการรวบรวมประวัติความเป็นมา รูปแบบ คติการสร้าง และวิวัฒนาการของเครื่องประดับศีรษะหรือศิราภรณ์ เครื่องประดับตกแต่งร่างกายหรือถนิมพิมพาภรณ์ ที่ปรากฏจากหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมในผืนแผ่นดินไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งการจัดพิมพ์ในครั้งนี้ เป็นการพิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ ๒ โดยได้เพิ่มเติมบทนำและคำบรรยายภาพประกอบเป็นภาษาอังกฤษ หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องประดับตกแต่งร่างกายของผู้คนบนผืนแผ่นดินไทยสมัยต่างๆ

ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ความงามอันทรงคุณค่า โดย นิตย์รดี เรียบร้อยเจริญ
LC Call: DS 588.N67 ท46 2554
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=6301บอกเล่าเรื่องราวของทรัพย์สินต่างๆ ของแผ่นดิน เป็นเรื่องราวของ เครื่องทองโบราณและเครื่องราชูปโภคตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ที่ทรงคุณค่า จัดสร้างโดยช่างหลวงในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นช่างฝีมือสูง แต่ละชิ้นมีความงดงามทั้งรูปแบบ ลวดลาย กรมธนารักษ์เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชาติ จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนทราบถึงความงดงามของศิลปกรรมไทยที่สืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบัน เหมาะสำหรับการศึกษาหาความรู้ด้านช่างหลวง ซึ่งเป็นงานฝีมือชั้นสูงในสมัยโบราณ
ทอง : ความรุ่งโรจน์เรืองรองของกรุงศรีอยุธยา โดย ทีมผลิตรายการจดหมายเหตุกรุงศรี
LC Call: NK 7178.7 .ท65 2553
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=3316ยุคสมัยแห่งความเรืองรองรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยา เพชรยอดมงกุฎแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา นครที่นักเดินทางที่เข้ามาค้าขายกล่าวขานทั่วไปว่ามั่งคั่งงดงาม แม้ว่าในกาลต่อมากรุงศรีอยุธยาจะประสบภัยจากสงครามจนแทบจะไม่เห็นความเรืองรองของอดีต แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าบันทึกความรุ่งโรจน์ของวันที่เลยผ่านจะสูญหาย เพราะทุกอย่างยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันผ่านโบราณวัตถุ งานศิลปกรรมสถาปัตยกรรม เครื่องใช้ไม้สอย และวิถีชีวิตของผู้คน

เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา : อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม โดย สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะLC Call # NK 7178.7 .ส75 2543
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://opac.git.or.th/BibDetail.aspx?bibno=1092หนังสือเล่มนี้นำเสนอภาพชุดเครื่องทองกรุงศรีอยุธยา จากกรุวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ เป็นชุดเครื่องทองโบราณ ฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนต้นเพียงชุดเดียวที่ตกทอดเป็นมรดกของแผ่นดินไทย เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา ถือได้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่เผยให้เห็นถึงปริมณฑลอันยิ่งใหญ่ไพศาลของกรุงศรีอยุธยาแล้ว หากยังครอบคลุมไปถึงด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา สถาปัตยกรรม และโบราณคดี เพื่อก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ตระหนักถึงคุณค่าที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์สังคมและสืบทอดให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินแผ่นดินทองแห่งนี้
หากใครที่สนใจเรื่องราวของ
“เครื่องทองไทย” สามารถสืบค้นหนังสือได้ที่ SEARCH ON OPAC ได้จาก
https://elibrary.git.or.th/ หรือเข้ามาใช้บริการอ่านหนังสือได้ที่ห้องสมุดอัญมณีและเครื่องประดับ ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ถนนสีลม เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์